มากกว่ารัก

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
                มีหลักพิจารณา ดังนี้
                กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
                คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
                คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
                เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

การสมัครอีเมลล์ วิธีสมัคร E-Mail การสมัครเมลล์ hotmail.com

วิธีสมัครเมลล์ สมัครเมลล์
ก่อนอื่นให้เข้าไปที่ http://www.hotmail.com/ ก่อน จะเห็นปุ่มด้านขวามือเขียนว่า ลงทะเบียน ให้กดที่ปุ่นนั้นแล้วจะได้เป็นหน้าด้านล่าง
บทความนี้จาก http://www.modify.in.th/
วิธีสมัคร E-mail

ให้กรอกรายละเอียดลงไปตามหัวข้อต่างๆ แล้วสุดท้ายให้พิมพ์ code ที่มองเห็นจากนั้นให้กด ฉันยอมรับเพื่อทำขั้นตอนต่อไป
อธิบายคราวๆตามหัวข้อด้านบน
windows live id: คือชื่อของเมลล์เรานั้นเอง เป็นภาษาอังกฤษ พยามเลือกไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น การตั้งชื่อง่ายๆอาจมีคนอื่นจดไปแล้ว ในตอนนี้ ทาง hotmail มีให้เลือก @ สองแบบ คือ hotmail กับ wondowslive.com ใส่ชื่อเลือก @ แล้วถ้าไม่ซ้ำด้านล่างจะเป็นตัวเขียวๆ แสดงว่าใช้ชื่อนี้ได้ แต่หากขึ้นสีแดงๆแสดงว่ามีคนอื่นจองชื่อนี้ไปแล้ว หรือทาง hotmail ห้ามไม่ให้จดชื่อนี้
สร้างรหัสผ่าน : ใส่ระหัสผ่าน อะไรก็ได้ 6 ตัวขึ้นไป
พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง : พิมพ์เหมือนด้านบนอีกครั้ง
ชื่อจริง: ใส่ชื่อ (ไม่จำเป็น้องเป็นชื่อจริงก็ได้)
นามสกุล : สกุล
ประเทศ : ใส่ประเทศ
จังหวัด : เลือกจังหวัด
รหัสไปรษณีย์ : ใส่ไป 6 ตัวของจังหวัดนั้นๆที่เราอยู่
เลือกเพศ
เลือกปีเกิด
พิมพ์ที่เรามองเห็นจากด้านบนเป็นการป้องกันสปาม
 

เมื่อกดไปแล้วจะเข้าสู้หน้าเมลล์ของ hotmail เรียบร้อย

การทำ E - Book

การทำ E - Book ด้วย PDFCreator
ความหมายของ E-book เอาแบบง่าย ๆ ก็คือหนังสือหรือเอกสารทางอีเล็คทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านได้โดยอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ซึ่งจะอ่านได้ก็เมื่อคุณมีโปรแกรมการอ่านจากคนผลิดโปรแกรมที่ทำ e-book นั่นแหละ
วิธีทำ หนังสือให้อยู่ในรูปของ E- book ก็มีโปรแกรม ต่าง ๆ มากมายแล้วแต่ใครเขาจะผลิดขึ้นมาขาย แต่ที่ง่ายและคุ้นหูคุ้นตา ก็คือ การทำให้หนังสือ อยู่ใน ไฟล์ . pdf ( อย่างหนังสือของเวปนี่ไง) แถมมีโปรแกรมแจกฟรีเสียด้วยสิ ไปดาวน์โหลดได้ที่ Nectec นะคะ หน้านี้
โปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสือ e-book ที่อยู่ในไฟล์ pdf นี ก็คือ Acrobat Reader นี่ก็หาง่ายมีให้โหลดทั่วไปในอินเตอร์เน็ท
เอ้า ! เริ่มแรก ให้เข้าใจเอาเลยว่า คุณได้เขียนหนังสือของคุณจบแล้ว ด้วย word ธรรมดา ๆ นี่แหละ วิธีที่จะทำให้มันอยู่ใน ไฟล์ pdf
ก็คลิกที่เมนูบาร์ คำสั่ง file>print มันก็จะมีจอการพิมพ์ออกมาให้คุณเห็น
ตรง ชื่อเครื่องพิมพ์ มีสามเหลี่ยมกลับหัวเล็ก ๆ ให้คุณคลิก แล้วคุณก็เลือก pdfcreator
จากนั้นก็รอสักครู่ จะมีจอถามคุณให้ save เอกสาร ก็ตั้งชื่อแล้วกด ok ไป
และแล้วไม่นานคุณก็จะได้ หนังสือหรือเอกสารของคุณก็จะกลายเป็น e-book ค่ะ
หากคุณต้องการจะปรับแต่งให้มี password หรืออื่น ๆ ก่อนที่จะเปิดอ่านหนังสือ นี้ ก็ไปปรับแต่งคำสั่งใหม่ได้
ที่ Desktop ของคุณ ให้คลิก shortcut รูป pdfcreator จะปรากฏจอสถานะการพิมพ์ขึ้นมาให้คุณเห็น
ที่เมนู คลิกที่คำสั่ง printer ก็จะมีคำสั่งย่อยลงมา
เลือก option แล้วไปยัง format PDF คลิกที่ security จากนั้นก็เลือกติ๊กที่ use security ก็จะมีจอมาถามให้ติ๊กเลือก หรือ ใส่ password ตามที่คุณต้องการค่ะ

( ภาพนี้ก็เอามาจากลิ้งค์ข้างบนนั่นแหละ)

สนุกกับการทำ E-book ของคุณนะคะ

ฟีลิปดา
1 กรกฎาคม 2549
( หมายเหตุ ใครมีคำแนะนำเพิ่มเติม ก็ไปโพส บอกกันบ้างนะคะ เพราะที่อธิบายก็เอาง่าย ๆ อย่างที่ตัวเองทำอยู่ จะลึกมากกว่านี้ก็ไม่รู้เสียแล้ว)

สร้าง E- Book ด้วยโปรเเกรม FlipAlbum 6.0 Pro.

เศรษฐกิจแบบพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
          ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
          ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ   การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม  ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน  ฯลฯ  บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้  เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า”

          ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

          การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

          ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม

          การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน


          การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้

          1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
          2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
          3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

          การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

          “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

          การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ

          ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

          “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

          ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ

          ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
          “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”

          ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น

          ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

          แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
          1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
          2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
          3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
          " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

การสร้าง การใช้ หรือการเปลี่ยนแม่แบบใน Publisher

 
ถ้าคุณดำเนินธุรกิจทั่วไป คุณอาจจะสร้างสิ่งพิมพ์บางชนิด  เช่น จดหมายข่าว ใบปลิว ไปรษณียบัตร และบัตรของขวัญ  เป็นประจำ แม้ว่าฉบับใหม่แต่ละฉบับจะไม่ซ้ำกัน แต่ก็มีองค์ประกอบบางอย่างที่สอดคล้องเหมือนกันอยู่ เช่นชื่อบริษัทและที่อยู่บริษัทของคุณ
ตัวอย่างเช่น ในจดหมายข่าวรายเดือน เค้าโครงส่วนมากยังคงเหมือนเดิม แต่เนื้อหาของจดหมายข่าวจะเปลี่ยนไปในแต่ละฉบับ
ตัวอย่างจดหมายข่าวของธนาคาร

คุณต้องการทำสิ่งใด

ศึกษาเกี่ยวกับแม่แบบ
บันทึกสิ่งพิมพ์เป็นแม่แบบ
ใช้แม่แบบสร้างสิ่งพิมพ์
เปลี่ยนแม่แบบ
ค้นหาแม่แบบที่คุณสร้าง

การศึกษาเกี่ยวกับแม่แบบ

คุณสามารถสร้างแม่แบบจากสิ่งพิมพ์ได้ด้วยการบันทึกสิ่งพิมพ์นั้นเป็นแฟ้มแม่แบบ Publisher เมื่อคุณเริ่มต้นสิ่งพิมพ์ใหม่ด้วยการเลือกแม่แบบ สำเนาของแฟ้มแม่แบบนั้นจะเปิดขึ้น เพื่อแม่แบบต้นฉบับจะได้ไม่เปลี่ยนโดยไม่ตั้งใจ ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนแปลงที่แม่แบบ คุณสามารถเปิดสำเนาของแฟ้มแม่แบบ แล้วเปลี่ยนแปลงตามที่คุณต้องการ จากนั้นให้บันทึกเป็นแม่แบบอีกครั้ง
คุณสามารถประหยัดเวลาได้ด้วยการออกแบบสิ่งพิมพ์ต้นแบบซึ่งสะท้อนตราสินค้าและเอกลักษณ์ของบริษัท และจากนั้น บันทึกการออกแบบเป็นแม่แบบ หลังจากนั้น ทุกครั้งที่คุณต้องการสร้างสิ่งพิมพ์ฉบับใหม่ คุณสามารถใช้แม่แบบดังกล่าวและเพิ่มเพียงข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันไปยังฉบับนั้นได้ การใช้แม่แบบสำหรับสิ่งพิมพ์ที่คุณผลิตเป็นประจำไม่เพียงแต่ประหยัดเวลาเท่านั้น แต่คุณยังสามารถทำให้แน่ใจในคุณภาพและความสอดคล้องได้อีกด้วย
มีวิธีสร้างสิ่งพิมพ์ใน Publisher หลายวิธี Publisher มีการออกแบบที่มีคุณลักษณะแบบไดนามิกซึ่งทำให้ง่ายในการเปลี่ยนการออกแบบ เค้าโครง สี และองค์ประกอบอื่น คุณสามารถทำได้ดังนี้
  • ใช้แม่แบบสิ่งพิมพ์แบบหนึ่งสร้างชนิดของสิ่งพิมพ์ที่คุณต้องการ เช่น ปฏิทิน จดหมายข่าว หรือไปรษณียบัตร
  • ออกแบบสิ่งพิมพ์ กำหนดสิ่งพิมพ์เองตามความต้องการของคุณ แล้วบันทึกสิ่งพิมพ์เป็นแม่แบบ
ค้นหาการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีออกแบบสิ่งพิมพ์เพื่อบันทึกเป็นแม่แบบและวิธีสร้างแม่แบบที่มีตราสินค้าสำหรับธุรกิจของคุณตั้งแต่ต้นในส่วน ดูเพิ่มเติม

การบันทึกสิ่งพิมพ์เป็นแม่แบบ

คุณสามารถสร้างแม่แบบจากสิ่งพิมพ์ด้วยการบันทึกสิ่งพิมพ์นั้นเป็นแฟ้มแม่แบบ Publisher นอกจากนี้ คุณยังสามารถดาวน์โหลดแม่แบบจาก Microsoft Office Online แล้วเปลี่ยนแม่แบบตามที่คุณต้องการ จากนั้นบันทึกแฟ้มเป็นแม่แบบที่คุณสามารถใช้ได้อีก
  1. สร้างหรือเปิดสิ่งพิมพ์ที่คุณต้องการใช้เป็นแม่แบบ
  2. บนเมนู แฟ้ม ให้คลิก บันทึกเป็น
  3. ในกล่อง บันทึกเป็นชนิด ให้คลิก แม่แบบ Publisher
 หมายเหตุ   โฟลเดอร์ปลายทางเปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งที่ตั้งแม่แบบเริ่มต้น (C:\Documents and Settings\ชื่อผู้ใช้\Application Data\Microsoft\Templates ถ้าคุณยังไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งใน Microsoft Office Word) ถ้าคุณบันทึกแม่แบบของคุณไปยังตำแหน่งที่ตั้งอื่น Publisher อาจไม่สามารถพบแม่แบบ
  1. ในกล่อง ชื่อแฟ้ม ให้พิมพ์ชื่อของแม่แบบ
  2. คลิก บันทึก
 หมายเหตุ   เมื่อต้องการดูแม่แบบที่คุณเพิ่งสร้าง ให้จบการทำงานและเริ่ม Publisher อีกครั้ง จากนั้นให้คลิก แม่แบบของฉัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูส่วน การค้นหาแม่แบบที่คุณสร้าง ด้านล่าง

การใช้แม่แบบสร้างสิ่งพิมพ์

คุณสามารถใช้แม่แบบจาก Publisher หรือ Office Online เพื่อสร้างสิ่งพิมพ์ที่สวยงามได้

การใช้แม่แบบจาก Microsoft Office Online

 สิ่งสำคัญ   คุณต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก่อนที่คุณจะค้นหา Office Online เพื่อหาแม่แบบที่จะใช้กับ Publisher
  1. เปิด Publisher หรือคลิก สร้าง บนเมนู แฟ้ม
  2. เลือกประเภทสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างเช่น บัตรอวยพร
  3. ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • ในแค็ตตาล็อก บัตรอวยพร ให้คลิก ดูแม่แบบจาก Microsoft Office Online
 หมายเหตุ   ถ้าคุณดาวน์โหลดแม่แบบจาก Office Online ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแม่แบบที่คุณดาวน์โหลดนั้นได้รับการออกแบบสำหรับ Publisher ถ้าแม่แบบไม่ได้รับการออกแบบสำหรับ Publisher อาจจะใช้งานกับสิ่งพิมพ์ของคุณไม่ได้
  • ในกล่อง ค้นหาแม่แบบ ให้พิมพ์คำสำคัญ ตัวอย่างเช่น พิมพ์ วันเกิด ในกล่องถัดไป ให้เลือก Microsoft Office Online แล้วคลิกปุ่ม ค้นหา สีเขียว
 หมายเหตุ   กล่อง ค้นหาแม่แบบ อยู่เหนือหัวเรื่อง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Publisher
  1. เลือกชื่อแม่แบบ แล้วคลิก สร้าง

การใช้แม่แบบ Publisher

  1. บนเมนู แฟ้ม ให้คลิก สร้าง
  2. เลือกประเภทสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างเช่นใบประกาศรางวัล
  3. เลือกการออกแบบแล้วเปลี่ยนอย่างที่คุณต้องการ
  4. คลิก สร้าง
  5. เมื่อคุณต้องการจะบันทึกรุ่นนี้ของแม่แบบ ให้คลิก บันทึกเป็น บนเมนู แฟ้ม
  6. บันทึกสิ่งพิมพ์เป็น แม่แบบ Publisher

การเปลี่ยนแม่แบบ

คุณสามารถเปิดแม่แบบที่คุณใช้ก่อนหน้านี้ เปลี่ยนแม่แบบนั้น จากนั้นก็บันทึกเป็นแม่แบบใหม่ได้
  1. เปิด Publisher หรือคลิก สร้าง บนเมนู แฟ้ม
  2. ให้คลิก แม่แบบของฉัน จากนั้นคลิกสองครั้งที่ชื่อของแม่แบบ
  3. เปลี่ยนแปลงแม่แบบอย่างที่คุณต้องการ
  4. บนเมนู แฟ้ม ให้คลิก บันทึกเป็น
  5. ในกล่อง บันทึกเป็นชนิด ให้คลิก แม่แบบ Publisher แล้วพิมพ์ชื่อสำหรับแม่แบบ
  6. คลิก บันทึก

อริยสัจ 4

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
                1. ทุกข์
 คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ คนทุกคนต่างก็เคยพบกับความทุกข์ หรือประสบปัญหาบางอย่างมาแล้วทั้งนั้น เช่น นักเรียนที่สอบตกก็เป็นทุกข์ เศรษฐีที่หาเงินได้ยังไม่มากพอตามที่ตนต้องการก็เป็นทุกข์ คนจนก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งความทุกข์และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีได้ทุกขณะ ความจริงก็คือว่าความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเราจะต้องไม่ประมาท และพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาทุกเรื่อง
               
หน้าที่ต้องทำในทุกข์  คือ  การกำหนดรู้ในทุกข์ หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
หมวดธรรมที่ว่าทุกข์    ได้แก่ ขันธ์ 5   ในส่วนที่เป็นจิตและเจตสิก
            จิตและเจตสิก
           
จิต หรือ วิญญาณธาตุ แปลว่า สภาวะที่รู้ เมื่อมีร่างกายจึงรู้คิด รู้พิจารณา รู้จักไตร่ตรอง ใคร่คราญได้  หมายถึง สภาพที่รู้คิด รู้พิจารณา ไตร่ตรอง โดยต้องมีร่างกายที่มีอาการ 32 ครบ เป็นเครื่องมือ หรือภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์
            เจตสิก หมายถึง สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต มีจิตฝ่ายกุศล จิตฝ่ายอกุศล และจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่ดีไม่ชั่วชีวิตประกอบด้วย ร่างกายและจิต (รูปและนาม)
                1. รูป หมายถึง ร่างกาย คือ ส่วนประกอบของชีวิตเป็นสสาร (ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ)
                2. เวทนา หมายถึง อาการที่เป็นความสุข ความทุกข์ และไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายและใจ เรียกว่า กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์
                3. สัญญา หมายถึง ความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ ของใจ
                4. สังขาร หมายถึง การคิดปรุงแต่งทั้งทางดี ทางชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว ของใจ
                5. วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งทางอารมณ์ในสิ่งต่างๆ ของใจ มี 6 ทาง คือ ตา (จักขุ) หู (โสต) จมูก (ฆานะ) ลิ้น(ชิวหา) กาย (กายะ) ใจ (มโน)  ประกอบด้วย
                       
- ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ตามองเห็นสิ่งต่างๆ เรียก จักขุวิญญาณ
                        - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่หูได้ยินเสียงสิ่งต่างๆ เรียก โสตวิญญาณ
                        - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่จมูกสูดดมกลิ่นสิ่งต่างๆ เรียก ฆานวิญญาณ
                        - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ลิ้นได้ลิ้มรสสิ่งต่างๆ เรียก ชิวหาวิญญาณ
                        - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่กายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ เรียก กายวิญญาณ
                        - ความรู้แจ้งทางอารมณ์เมื่อใจได้สัมผัสอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ เรียก มโนวิญญาณ
                กระบวนการของการเกิดความทุกข์ของมนุษย์เราโดยสังเขป จะเกิดขึ้นเมื่อใด
               
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ตามองเห็นสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์  
               
ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่หูได้ยินเสียงสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
                ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่จมูกสูดดมกลิ่นสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
                ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ลิ้นได้ลิ้มรสสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
                ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่กายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
                ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ใจได้สัมผัสอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา เพราะจำได้หมายรู้ (สัญญา) แล้วคิดปรุงแต่งไม่ดี (สังขาร) แล้วเกิดความไม่พอใจ อิจฉาริษยา โกรธ พยาบาทปองร้าง ฯลฯ
                นั่นคือ ความทุกข์ใจ ถ้าควบคุมความรู้สึกในใจที่ไม่ดีเหล่านี้ได้   ก็จะแสดงออกทางกาย ทางวาจาให้เห็น
            การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ทำอย่างไรทุกข์ใจจะไม่เกิด
           
เมื่อตาได้สัมผัสกับรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้สูดดมกลิ่น ลิ้มได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และใจได้นึกคิดต้องระวังใจ ไม่ให้คิดปรุงแต่ง   จำได้หมายรู้ในเรื่องทางที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา หรือ ความปรารถนาอยากได้สิ่งที่เกินขอบเขตวิสัยของตนที่จะทำได้   แล้วความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นครอบง่ำจิต
            สรุป อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
ความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนนั้นย่อมเกิดจากสาเหตุบางอย่าง มิใช่เกิดขึ้นลอย ๆ ดังพุทธดำรัสว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด   ตัวอย่างเช่นนี้ นักเรียนที่สอบตกอาจเป็นเพราะเกียจคร้านในการอ่านหนังสือ เศรษฐีที่หาเงินได้ยังไม่มากพอตามที่ตนต้องการ อาจเป็นเพราะมีความโลภจนเกินไปเป็นต้น ซึ่งสาเหตุของความทุกข์นั้น คือความอยากที่เกินพอดี ซึ่งเรียกว่า ตัณหา มี 3 อย่างคือ   กามตัณหา   ภวตัณหา  วิภวตัณหา
            หมวดธรรมที่ว่าด้วย สมุทัย ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท, นิวรณ์ 5 และอุปาทาน 4
                1.ฏิจจสมุปบาท
สภาพที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น หรืออิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น กล่าวโดยหลักการ คือ เมื่อสิ่งเหล่านี้มี สิ่งเหล่านั้นจึงมีเพราะสิ่งเหล่านี้เกิด สิ่งเหล่านั้นจึงเกิดเมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่มี สิ่งเหล่านั้นจึงไม่มี   เพราะสิ่งเหล่านี้ดับ สิ่งเหล่านั้นจึงดับ  
                สรุป
ความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เกิดจากการกระทำเหตุหรือปัจจัยที่ไม่เหมาะสม เช่น ความไม่ดี ความประมาท ความเกียจคร้าน  เป็นต้น  ผลก็เป็นความทุกข์  เช่น ความเดือดร้อน   ความไม่เจริญก้าวหน้า ความวิบัติ เป็นต้น
                2. นิวรณ์ 5
 ได้แก่  1. กามฉันทะ 2. พยาบาท  3. ถีนมิทธะ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ  5. วิจิกิจฉา
                นิวรณ์ 5 แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องขัดขวาง เป็นเครื่องห้ามมิให้บรรลุธรรมเกิดขึ้น มิให้ฌาน อภิญญา สมาบัติ มรรค ผล เกิดขึ้นได้ เป็นเครื่องกีดขวาง ปิดกั้นการกระทำความดี คือ
                    1.กามฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในกามคุณ 5 มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นิวรณ์นี้ เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้เกิดความหมกมุ่นครุ่นคิด หาแต่กามคุณที่ตนปรารถนา ทำให้จิตใจไม่เป็นสมาธิในการทำความดี ในการปฏิบัติธรรม ขัดขวางมิให้บรรลุกุศลธรรมได้
                    2.พยาบาท คือ ความปองร้าย ความคิดอาฆาตมาดร้าย ความไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา นิวรณ์ข้อนี้ เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้เกิดความขุ่นเคือง ความหม่นหมองใจ ทำให้จิตใจไม่มีปีติปราโมทย์ในการทำความดี ในการปฏิบัติ ขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
                    3.ถีนมิทธิะ คือ ความหอหู่ท้อแท้ใจและความง่วงเหงาหาวนอน นิวรณ์ข้อนี้เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้จิตใจหอหู่ท้อแท้ ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน ทำให้จิตปราศจากกุศลจิต คือทำให้จิตไม่มีแก่ใจที่จะทำความดี ไม่คิดปฏิบัติธรรม ขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
                    4.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ ได้แก่ ความคิดฟุ้งซ่าน แลบไหลไปในอารมณ์ต่างๆ คิดเลื่อนลอยไปในอารมณ์ต่างๆ และเกิดความรำคาญใจ ร้อนใจ กลุ้มใจในความผิดพลั้งพลาดต่างๆ เช่น มัวคิดไปว่า ตนเองได้ทำความชั่ว ความผิดพลาดไว้มาก ไม่ได้ทำความดีไว้เลย แล้วเกิดความร้อนใจ รำคาญใจในภายหลัง นิวรณ์ข้อนี้เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้จิตไม่มีความสุข ไม่สบายใจในการทำความดี ในการปฏิบัติธรรม ขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
                    5. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัย ความลังเลใจ อันได้แก่ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นต้น นิวรณ์ข้อนี้เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว จะทำให้ขาดวิจารณ์ ไม่สามารถพินิจพิจารณาตัดสินใจทำความดี ตัดสินใจปฏิบัติธรรมได้ ย่อมขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
                    สรุป
นิวรณ์ 5 เมื่อเกิดขึ้นอยู่ในใจของผู้ใดแล้ว ย่อมขัดขวาง หรือขวางกั้นในการทำความดีหรือการปฏิบัติหน้าที่การงานทั้งทางโลกและทางธรรม มิให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จ
                3. อุปาทาน4
กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกาม (กามคุณ 5 = รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส)  ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยทิฏฐิ (ความเห็น)  สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยศีลวัตร (ข้อปฏิบัติ)  อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นวาทะว่าตน (การแบ่งเราแบ่งเขา)  อุปาทาน เป็นชื่อของกิเลสกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงออกมาในลักษณะที่ยึดมั่น ถือมั่น  ด้วยอำนาจของกิเลสนั้น ๆ โดยความหมายทั่วไป อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น   แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
                    1.กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกาม  คือการที่จิตเข้าไปยึดถือในวัตถุกามทั้ง 5  คือ  รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันตนกำหนดว่าน่าใคร่  น่าปรารถนา  น่าพอใจ ความยึดถือของจิตนั้นมีความรู้สึกว่า "นั่นเป็นของเรา" เช่นเห็นรูปสวยงามเข้า ก็อยากได้มาเป็นของตนด้วย อำนาจตัณหา เมื่อได้มาว้ในครอบครองแล้ว จะยึดมั่นถือมั่นว่า  รูปนั่นของเรา ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะยึดถือรูปเป็นต้น อย่างอื่นในทำนองเดียวกัน ความทุกข์ในชีวิตจะเกิดขึ้น  เพราะการแสวงหา การครอบครอง การเปลี่ยนแปลง  หรือพลัดพรากไปของวัตถุกามเหล่านั้น
                    2.ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เช่นยึดถือในลัทธิธรรมเนียม ความเชื่อถือต่าง ๆ ขาดการใช้ปัญญา พิจารณาหาเหตุผล เช่น  ถือว่าการกระทำดี ชั่วไม่มี ความสุขความทุกข์ในชีวิตของคนไม่ได้เกิดมาจากเหตุอะไรทั้งสิ้น ไม่มีบุญบาป บิดา มารดา พระอริยบุคคลเป็นต้น  ความยึดถือบางอย่างนอกจากจะละได้อยากแล้ว ยังนำไปสู่การถกเถียง การแตกแยกกัน จนต้องประสบทุกข์ในอบายเพราะทิฏฐุปาทานบางอย่าง
                    3. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในศีลวัตร และข้อปฏิบัติต่าง ๆ  ที่ตนประพฤติมาจนชินด้วยความเข้าใจว่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ถูกต้องเป็นต้น โดยทั่วไปเช่นการยึดติดในธรรมเนียมบางอย่าง พิธีกรรมบางประเภท ถือฤกษ์ผานาที ทิศดีทิศไม่ดี วันดีวันร้าย  จนถึงการถือวัตรปฏิบัติที่งมงายต่างๆ เช่น การทำตนเลียนแบบสุนัขบ้าง  โคบ้าง  โดยเข้าใจว่า จากการทำเช่นนั้นทำให้ตนได้ประสบบุญ  เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า   จนถึงละสิ้นทุกข์   เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นต้น
                    4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นวาทะว่าตน โดยความหมายทั่วไป หมายถึงยึดถือในทำนองแบ่งเป็นเรา เป็นเขา เป็นพวกเราพวกเขา จนถึงการยึดถือว่ามีตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่  ตนนั่นเองเป็นผู้มี ผู้รับ ผู้ไปในภพต่าง ๆ เสวยผลบุญบาปต่าง ๆ ที่ตนทำไว้  โดยขาดการมองตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น    ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะการประชุมพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลายเท่านั้น
                    อุปาทานทั้ง 4 ประการนี้   ที่ทรงแสดงไว้ในปฏิจสมุปบาทนั้น   อุปาทานอยู่ในฐานะเป็นปัจจุบันเหตุ  ร่วมกับตัณหา และด้วยอำนาจแห่งอุปาทานนี้เอง  ที่ทำให้ได้ประสบความทุกข์ต่างๆ
                สรุป สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ

            2. สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์
                3. นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยความดับทุกข์ กล่าวคือ ความทุกข์นั้นเมื่อเกิดได้ก็ดับได้ เมื่อความทุกข์เกิดจากสาเหตุ ถ้าเราดับสาเหตุนั้นเสีย ความทุกข์นั้นก็ย่อมดับไปด้วย ดังพุทธดำรัสว่า “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ” ความทุกข์หรือปัญหาของคนเรานั้น เมื่อเกิดแล้วก็จะไม่คงอยู่อย่างนั้นเป็นนิจนิรันดร์ แต่อยู่ในวิสัย ที่เราสามารถจะแก้ไขได้ไม่ช้าก็เร็ว ไม่มากก็น้อย และอยู่ที่ว่ามีความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขหรือไม่
                หมวดธรรมที่ว่าด้วยนิโรธ ได้แก่ นิพพาน
                นิพพาน
               
คำว่า“นิพพาน” แปลว่า ดับเย็น นิพพานในพระพุทธศาสนา มีนัยที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดอยู่ 3 อย่างคือ
                    1.การสิ้นกิเลส หรือการดับกิเลส เรียกว่า นิพพาน
                    2 ผลที่เกิดขึ้นเป็นความสงบปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือภาวะที่ปราศจากความทุกข์ อันเกิดจากการสิ้นกิเลสนั่นเอง เป็นตัวนิพพาน
                    3. ธรรมธาตุอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ดับของกิเลสและเป็นสภาพที่มีอยู่นิรันดร เมื่อใครปฏิบัติหรือลุถึง กิเลสของบุคคลนั้นก็ดับไป ธรรมธาตุอันนี้ถูกว่าจัดว่าเป็นนิพพาน หรือบางทีก็เรียกว่า “นิพพานธาตุ”  ความแตกต่างระหว่างความหมายทั้ง 3 นัยนี้ได้โดยง่าย โดยพิจารณาไปในแง่ของเวลาคือ นิพพานอย่างที่ 1 คำนี้เป็นอาการนาม หมายถึงอาการที่กิเลสดับลงหรือสิ้นลง จึงมีระยะเวลาชั่วขณะจิตเดียวหรือแวบเดียว ส่วนตัว นิพพานอย่างที่ 2 เป็นภาวะนาม หมายถึงความที่ทุกข์ไม่มี มีผลเป็นความไม่ทุกข์อันนี้จะมีระยะยาวไปจนตลอดชีวิตของบุคคลผู้ลุถึงนิพพานนั้น ส่วน นิพพานอย่างที่ 3 นั้น คือว่า เป็นสภาพอย่างนิรันดร ไม่มีเกิดไม่มีดับ เรียกว่าเป็นสิ่งที่กล่าวไม่ได้ว่ามีอายุเท่าไร ท่านใช้คำว่า อชาตัง = ไม่เป็นอยู่, อมตัง = ไม่ตาย เป็นลักษณะนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงอยู่นอกเหนือความมีอายุ นิพพานธาตุโดยนัยกล่าวแล้วนี่เอง หมายถึงนิพพานที่กล่าวถึงใน โลกุตตรธรรม 9.  ทำให้เห็นได้ชัดว่านิพพานอย่างที่ 1 เนื่องด้วยมรรค, นิพพานอย่างที่ 2 เนื่องด้วยผล, ส่วนนิพพานอย่างที่ 3 ได้แก่ นิพพานธาตุ อันเป็นของนิรันดรดังกล่าวแล้ว, นิพพาน อย่างที่ 1 เนื่องด้วยมรรค เพราะมีชั่วขณะที่มรรคตัดกิเลส ซึ่งถือกันว่าชั่วขณะจิตหรือแวบเดียว, นิพพานอย่างที่ 2 เนื่องด้วยผล เพราะผลแห่งความสิ้นกิเลสนั้นปรากฏแก่บุคคลนั้น จนตลอดชีวิตของบุคคลนั้น, ส่วนนิพพานอย่างที่ 3 เป็นนิพพานแท้ ไม่ต้องเกี่ยวกับมรรค หรือผล ก็เป็น สิ่งที่ปรากฏตัวอยู่ได้เองแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ทั้งปวงและในกาลทุกเมื่อ.
               
ในบาลีอิติวุตตกะ แบ่งนิพพานธาตุเป็น 2 อย่าง คือ นิพพานสำหรับ พระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ และนิพพานสำหรับ พระอรหันต์ที่ดับขันธ์แล้ว เมื่อกล่าวโดยนัยนี้ นิพพานสำหรับพระอรหันต์ผู้มีชีวิตอยู่ก็คือนิพพานอย่างที่ 2 ข้างต้น และนิพพานสำหรับพระอรหันต์ผู้ดับขันธ์แล้วก็คือนิพพานอย่างที่ 3
                ในบาลีอังคุตตรนิกาย กล่าวถึงนิพพานโดยยกบุคคลเป็นที่ตั้ง สรุปได้เป็น 2 พวกอย่างเดียวกัน คือ นิพพานที่มีเชื้อเหลือ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และนิพพานหมดเชื้อโดยสิ้นเชิง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
                สรุป นิโรธ (ความดับทุกข์) เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง หรือทำให้เกิดมีขึ้น
            4. มรรค  คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 
                   
1) เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
                    2) ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ ไม่ลุ่มหลงมัวเมากับความสุขทางกาย ไม่พยาบาทและไม่คิดทำร้ายผู้อื่น
                    3) เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
                    4) กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ ไม่ทำลายชีวิต ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดทางกาม
                    5) เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่ทำกิจการในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อคนทั่วไป
                    6) พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) คือความพยายามที่จะป้องกันมิให้ความชั่วเกิดขึ้น ความพยายามที่จะกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ความพยายามที่จะสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและความพยายามที่จะรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ตลอดไป
                    7) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความหลงไม่ลืม รู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
                    8) ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ การที่สามารถตั้งจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
                หมวดธรรมที่ว่าด้วยมรรค
ได้แก่ อธิปไตย 3, วิปัสสนาญาณ 9 และมงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส, ประพฤติพรมหจรรย์, เห็นอริยสัจ และบรรลุนิพพาน
                1. อาธิปไตย 3
(ความเป็นใหญ่) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
                        1.อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ หมายถึง กระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ
                        2.โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำด้วยปรารภนิยมของโลกเป็นประมาณ
                        3.ธัมมาธิปไตย ถือธรรมะเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริงสมควรตามธรรม เป็นประมาณ
                สรุป ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง ต้องเป็นตามหลัก ธัมมาธิปไตย
                2. วิปัสสนาญาณ 9 :
วิปัสสนา แปลว่า การทำให้แจ้ง ญาณ แปลว่า ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ทำให้ดับทุกข์ ดับกิเลสได้สิ้นเชิง มี 9 อย่าง
                        1) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนาม
                        2) ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
                        3) ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ความรู้อันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
                        4) อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นโทษ
                        5) นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นด้วยความหน่าย
                        6) มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ความรู้หยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
                        7) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้อันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
                        8) สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ความรู้อันเป็นโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
                        9) สัจจานุดลมิกญาณ หมายถึง ความรู้ที่เป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
                3. มงคลที่ 38   ได้แก่
                    1. มงคลที่ 31 ความเพียรที่เผากิเลส (บำเพ็ญตบะ)
                       
คนเราเมื่อศึกษาจะพบว่า ยังมีนิสัยไม่ดีบ้าง มีความประพฤติที่ไม่ดีบ้าง ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นนั้นยังมีอยู่อีกมาก เช่น เคยมักโกรธ เห็นแก่ตัว อิจฉาริษยา ซึมเซา ท้อถอย ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจัดการแก้ไขให้ดีขึ้น ด้วยอาการที่เรียกว่า การบำเพ็ญตบะ หรือ การทำความเพียรเผากิเลส
                        การบำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว คือกิเลสทุกชนิดให้ร้อนตัวทนอยู่ไม่ได้ เกาะใจไม่ติด ต้องเผ่นหนีไปแล้ว ใจก็จะผ่องใส หมดทุกข์   การที่เราจะขับไล่สิ่งใด เราก็จะต้องทำทุกอย่าง เพื่อฝืนความต้องการของสิ่งนั้น เหมือนการไล่คนออกจากบ้าน เขาอยากได้เงิน เราก็ต้องไม่ให้ อยากกินก็ไม่ให้กิน คือ ต้องฝืนใจของเขา เขาจึงจะไป การไล่กิเลสออกจากใจก็เหมือน ฉะนั้นหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส
                    ประเภทของการบำเพ็ญตบะ
การฝืนความต้องการของกิเลส เพื่อไล่กิเลสออกจากใจ แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
                        1. สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป เช่นโลภกำจัดโดยให้ทาน ชอบโกรธผู้อื่น แก้โดย แผ่เมตตา ขี้เกียจ แก้โดย ขยันทำ เป็นต้น
                        2. ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น ใช้ปฏิวัติอุปนิสัยได้รวดเร็วเฉียบพลัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความอดทน มีความเพียรสูงจึงจะทำได้
                    วิธีปฏิบัติเผากิเลสในชีวิตประจำวัน
ทำได้ดังนี้
                            1. ฝึกความอดทน
                            2. อินทรีสังวร คือ การสำรวมระวังตน(กาย วาจาและใจ)โดยอาศัยสติเป็นตัวกำกับเหตุการณ์ที่จะเกิดแล้วผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ แล้วทำความรู้เท่าทันกับเหตุการณ์นั้น ไม่เกิดเป็นความโลภ ความโกรธและความหลง เป็นต้น
                            3. มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม เนื่องจากคนเราส่วนใหญ่มักพอจะทราบอยู่ว่าอะไรดี อยากจะได้สิ่งที่เห็นว่าดีนั้นเกิดขึ้นกับตัว แต่ก็มักทำความดีนั้นไปได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง ทั้งนี้เพราะขาดความเพียร
                สรุป ความเพียรที่เผากิเลส (บำเพ็ญตบะ)เมื่อปฏิบัติแล้ว ความเสื่อม ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะไม่เกิดขึ้น
                มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์
แปลว่า การประพฤติเยี่ยงพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐ
                หมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลส
                วิธีประพฤติพรหมจรรย์
                   
1. พรหมจรรย์ขั้นต้น สำหรับผู้ครองเรือน
                            - ทาน คือ การรู้จักการสละวัตถุภายนอกที่เป็นส่วนเกิน ให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่า หรือได้รับความทุกข์เดือด เพื่อให้เขามีโอกาส หรือพ้นจากความทุกข์เดือดตามอัตภาพเขา
                            - เวยยาวัจจะ คือ การช่วยเหลือกิจที่ชอบ เช่น สาธารณกุศล สาธารณประโยชน์
                            - รักษาศีล 5 โดยเฉพาะศีลข้อ 3 ไม่ประพฤตินอกใจสามี-ภรรยา
                    2. พรหมจรรย์ขั้นกลาง สำหรับผู้ครองเรือน
                            - อปปมัญญา คือ การแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย แม้เขาจะเป็นศัตรูก็ตาม
                            - สทารสันโดษ คือ พอใจยินดีเฉพาะคู่ครองของตน และหาโอกาสรักษาศีล 8 บ้างตามกำลัง
                            - เมถุนวิรัติ คือ เว้นขาดจากการครองคู่ ได้แก่ ผู้ที่ไม่แต่งงาน หรือเป็นนักบวช
                    3. พรหมจรรย์ขั้นสูง สำหรับผู้ไม่ครองเรือน
                            - วิริยะ คือ ความเพียรตั้งใจทำฝึกสมาธิตลอดชีวิต
                            - ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล 8 ตลอดชีวิต
                            - อริยมรรค คือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 พร้อมบริบูรณ์อยู่ในตัวพรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก
                สรุป ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อปฏิบัติแล้ว ความเสื่อม ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะไม่เกิดขึ้น
                มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจจ์ : เห็นความจริงอันประเสริฐ

               
ความหมาย การเห็นเกี่ยวกับความจริงของโลกและชีวิตว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจแก่นแท้ของชีวิต  อริยสัจจ์ 4 เป็นความจริงที่มีอยู่คู่โลก แต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือทั้งรู้ทั้งเห็น แล้วทรงชี้ให้ดู ได้แก่
                    1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
                            - สภาวทุกข์ (ทุกข์ประจำ) คือ ความทุกข์ที่เกิดจากตัวเอง ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความทุกข์ประเภทนี้ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
                            - ปกิณกทุกข์ (ทุกข์จร) คือ ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุภายนอก เมื่อกระทบตนแล้วทำให้เกิดอาการ เช่น แห้งใจ น้อยใจ ท้อใจ กลุ้มใจ คร่ำคราญ ร่ำไรรำพัน เจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ ความทุกข์ประเภทนี้   ผู้มีปัญญาสามารถหลีกเลี่ยงได้
                    2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงค้นความจริงว่า ความทุกข์เกิดจาก ตัณหา (ความดิ้นรนทะยานอยากในใจ) และทรงแยกอาการออกเป็น 3 ลักษณะ
                            - กามตัณหา คือ ความอยากได้ หรืออยากยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เมื่อไม่ได้ก็เกิดเป็นความทุกข์ ทั้งกายและใจ
                            - ภวตัณหา คือ ความอยากมีอยากเป็น   เมื่อใจเกิดความอยากมีอยากเป็นตามที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นกับกายและใจของผู้นั้น
                            - วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น เมื่อพ้นสภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้ กายและใจก็เป็นทุกข์ เช่น อยากไม่เป็นคนจน อยากไม่เป็นคนแก่ อยากไม่เป็นคนขี้โรค เป็นต้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้นกับใจของผู้นั้น
                    3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือดับปัญหาได้สิ้นเชิง หรือ ภาวะที่ไม่ความทุกข์ ภาวะที่ไม่มีปัญหา หรือ ภาวะที่เป็นความสุขสงบ หรือภาวะเจริญก้าวหน้า หรือประสบความสำเร็จในชีวิต
                    4. มรรค คือ ทางหรือวิธีการปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ด้วยการปฏิบัติตามทางมัชฌิมาปฏิปทา 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
                วิธีเห็นอริยสัจจ์
               
คนทั่วไปแต่เห็นอริยสัจจ์ได้แต่เพียงคิดและรู้อย่างผิวเผินเท่านั้น ฉะนั้นจึงประสบกับความทุกข์ทั้งกายและใจในการดำรงชีวิตคละเคล้ากันไปตามความมากน้อยแห่งเหตุและปัจจัยที่กระทำผู้ที่เห็นอริยสัจจ์ จะเห็นถึงสภาพที่แท้จริงของชีวิตว่ามีแต่ความทุกข์ เห็นถึงเหตุของความทุกข์เหล่านั้นอย่างชัดเจนว่ามาจากความดิ้นรนทะยานอยากในใจ เห็นแนวทางที่จะกำจัดสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น   โดยปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 และเห็นอย่างชัดแจ้งถึงสภาพที่หมดทุกข์แล้ว่า มีอยู่จริงและมีความสุขมากเพียงใด จึงเป็นคนระมัดระวังไม่ประมาททั้งกาย วาจา ใ จ มั่นคนอยู่ในความดี เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดบางเบา หรือหมดไป ตามแนวทางที่ได้เห็นแล้วนั้น
                มงคลที่ 34 ทำนิพพานให้แจ้ง
               
ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระนิพพาน สัตว์โลกทั้งมวลจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏร่ำไป อันเป็นไปตามกฎแห่งวัฏฏะ 3 คือ กิเลส กรรมและวิบาก กล่าวคือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม กรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก คือให้เกิดผล และวิบากคือผลกรรมที่จะอำนวยให้ไปเกิดในภูมิในภพต่างๆ เมื่อยังมีกิเลสอยู่ ก็จะกรทำกรรมและจะต้องได้รับวิบากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏอยู่ต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น ผู้ที่จะเข้าพ้นสังสารวัฏไปได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมให้ได้บรรลุพระนิพพาน บรรลุพระนิพพานเมื่อใด ก็ข้ามพ้นสังสารวัฏได้เมื่อนั้น ตราบใดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ ตราบนั้นก็ชื่อว่าตกอยู่ในห้วงทุกข์ พ้นสังสารวัฏเมื่อใด ก็พ้นทุกข์ได้เมื่อนั้น
                ลักษณะของ “นิพพาน”
               
1. การสิ้นกิเลส หรือการดับกิเลส เรียกว่า นิพพาน
                2. ผลที่เกิดขึ้นเป็นความสงบปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือภาวะที่ปราศจากความทุกข์ อันเกิดจากการสิ้นกิเลสนั่นเอง เป็นตัวนิพพาน
                3. ธรรมธาตุอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ดับของกิเลสและเป็นสภาพที่มีอยู่นิรันดร เมื่อใครปฏิบัติหรือลุถึง กิเลสของบุคคลนั้นก็ดับไป ธรรมธาตุอันนี้ถูกว่าจัดว่าเป็นนิพพาน หรือบางทีก็เรียกว่า “นิพพานธาตุ” 
               
นิพพาน แบ่งตามเหตุที่บรรลุมี 2 อย่าง
                    1.สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง การดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ (ร่างกาย) ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ? เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลสแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว (บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลแล้ว) ปลงภาระได้แล้ว (ละความยึดมั่นในเบญจขันธ์ได้แล้ว) ได้บรรลุถึงประโยชน์อย่างยิ่งแล้ว (บรรลุอรหัตตผลแล้ว) สิ้นกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพแล้ว รู้ดีรู้ชอบแล้ว หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว อินทรีย์ 5 (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)ของภิกษุนั้นยังดำรงอยู่ เพราะอินทรีย์เหล่านั้นยังไม่วิบัติ ภิกษุนั้นจึงยังได้เสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ธรรมเป็นที่ลิ้นไปแห่งโลภะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ อันใดของภิกษุนั้น สภาวธรรมนี้เรียกว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”
                    2. อนุปาทิเสสนิพพาน
หมายถึง การดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน? เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลสแล้ว ...... รู้ดีรู้ชอบแล้ว หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้น เป็นอันไปเพลิดเพลินแล้ว จักดับสนิทในโลกนี้ที่เดียว นี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ขุ.อิติ.25/258-9)
                ภาวะนิพพาน  
นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
                - ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้น(นิพพาน) มีอยู่ ซึ่งเป็นอายตนะที่ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม เลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณณัญจายตนะ อากิญจิญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่ใช่ โลกนี้ก็ไม่ใช่ โลกอื่นก็ไม่ใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็ไม่ใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายอายตนะนั้นเราไม่กล่าวเลยว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งมั่น เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งที่อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นคือที่สุดแห่งทุกข์ (25/207)  ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์นี้ จะเห็นได้ว่า นิพพานเป็นอาตยะอย่างหนึ่ง คือเป็นธัมมายตนะ ด้วยเป็นธรรมารมย์ เป็นที่ยึดหน่วงของจิต ขณะที่ได้บรรลุโคตรภูญาณแล้วเท่านั้น เพราะผู้บรรลุญาณนี้ เป็นผู้มีใจสะอาด สงบและสว่าง จะพ้นภาวะแห่งปุถุชนแล้วและอายตนะ คือ นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่โดยไม่มีการเกิด ไม่มีสิ่งใดหรือใครสร้าง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
                อัตถิ ภิกขะเว อชาตัง อภูตัง อะกะตัง อสังขะตัง (25/207)  ภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่อนึ่ง พึงทราบว่า การกล่าวว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีในนิพพาน ส่องความว่า นิพพานมิใช่รูปขันธ์  การกล่าวว่านิพพานมิใช่อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นนั้น ส่องความว่า นิพพานมิใช่นามขันธ์ นิพพาน  จึงเป็นขันธวิมุตติ
                การกล่าวว่า นิพพานมิใช่โลกนี้ และมิใช่โลกอื่น หรือมิใช่ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั้น ส่องความว่า นิพพานนั้นมิใช่โลกอย่างใดอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์หรือดาราศาสตร์  การกล่าวปฏิเสธการมาการไปเป็นต้น ส่องความว่านิพพานนั้นไม่มีการสัมพันธ์กับโลกอื่น ด้วยไปมาถึงกันโดยอาการปกติก็ดี ด้วยการเวียนเกิดในสงสารก็ดี   การกล่าวว่านิพพานนั้น หาที่อาศัยมิได้เป็นต้น ส่องความว่านิพพานนั้นมิใช่เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งในไตรภพ   นิพพานนั้นเป็นธรรมชาติพิเศษชนิดหนึ่ง
                ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าธรรมชาตินั้นสงบแล้ว ธรรมชาตินั้นประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดออกซึ่งอุปทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด
                ภาวะผู้บรรลุนิพพาน
               
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดวิปัสสนาญาณแก่กล้า ได้บรรลุอริยมรรคญาณ อริยผลญาณ   สำเร็จเป็นองค์พระอรหันต์ เป็นผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่ นับว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน
                พึงเข้าใจว่า พระอรหันต์นั้น แม้ท่านจะได้บรรลุหรือเข้าถึงนิพพานแล้ว แต่ท่านก็มิได้เข้านิพพานดับสนิทตลอดเวลา หรือมิใช่ว่าท่านจะยึดหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ตลอดไปทุกเวลานาที แท้จริง ท่านจะเข้านิพพานเพียงชั่วระยะเวลาที่บรรลุอริยมรรคญาณ อริยผลญาณ และในขณะที่เข้าผลสมาบัติหรือนิโรธสมาบัติเท่านั้น  ในเวลาปกติที่มิได้เข้าสมาบัติ จิตของพระอรหันต์ก็มีอารมณ์เป็นโลกิยะ คือมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ เป็นอารมณ์ อย่างเดียวกับชาวโลกทั่วไป
                แต่พระอรหันต์ท่านรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้น ท่านไม่มีความยินดียินร้ายในอารมณ์เหล่านั้น แม้จะเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ ผ่านเข้ามา ท่านจะกำหนดรู้ได้ทันทีว่ามีอารมณ์ชนิดใดผ่านมา และรู้สึกเพียงว่า เห็นก็สักว่าเห็น หรือได้ยินก็สักว่าได้ยินเท่านั้น หาได้มี โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในขณะสัมผัสอารมณ์เหล่านั้นไม่ หาได้ติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นไม่
                แม้อายตนะภายในของพระอรหันต์จะยังรับอารมณ์ที่เป็นโลกียะอยู่อย่างชาวโลกทั่วไป แต่ไม่รับด้วยอำนาจกิเลสตัณหา ดังนั้นขันธ์ของพระอรหันต์ทั้งส่วนที่เป็นรูปขันธ์และนามขันธ์จึงเป็นขันธ์บริสุทธิ์ ซึ่งเรียกว่า วิสุทธิขันธ์
                เมื่ออิฏฐารมณ์เกิดขึ้น เช่น ได้เห็นรูปที่สวยๆ ได้ยินเสียงที่ไพเราะ ได้ดมกลิ่นที่หมอๆ ได้ลิ้มรสที่อร่อย ได้สัมผัสกับสิ่งสัมผัสที่เป็นสุข และได้คิดสิ่งที่ดีงามด้วยใจ พระอรหันต์ก็กำหนดรู้ทันตามสมมติของโลก เมื่อชาวโลกสมมติว่าดีว่างามเป็นต้น ท่านก็จะรับรู้ตามนั้น แต่ไม่ติดอยู่ในสมมตินั้น พูดง่ายๆ ก็คือ สิ่งใดที่ชาวโลกนิยมว่าสวยว่างาม เป็นต้น พระอรหันต์ก็ยอมรับว่าสิ่งนั้นสวยงามตามสมมตินั้น แต่ท่านมิได้ตกอยู่ในความสวยงามนั้น เพราะท่านตัดกิเลสได้เด็ดขาดแล้ว
                ในการบริโภคอาหารและการพักผ่อนหลับนอนก็เช่นเดียวกัน พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังต้องบริโภคอาหาร ยังต้องพักผ่อนหลับนอนเช่นเดียวกับชาวโลกทั่วไป แต่ท่านมิได้บริโภคอาหารด้วยอำนาจตัณหา มิได้พักผ่อนหลับนอนด้วยอำนาจถีนมิทธะอันเป็นอกุศลธรรม ท่านบริโภคอาหารและพักผ่อนหลับนอนความต้องการของร่างกายเท่านั้น เหมือนรถที่ต้องการเติมน้ำมันและต้องการพักเครื่องเท่านั้น
                อนึ่ง ในการบริโภคอาหารนั้น สำหรับคนทั่วไปย่อมมีความต้องการบริโภคด้วยเหตุ 2 ประการ
                        - ด้วยความหิวหรือความแสบท้อง ซึ่งเป็นความต้องการของร่างกาย
                       -  ด้วยความอยากรับประทานอาหารที่อร่อยถูกปากถูกใจ ซึ่งเป็นความอยากที่เป็นไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา
                แม้ในการบริโภคอาหารด้วยความหิว คนที่มีกิเลสตัณหาอยู่ ก็อาจบริโภคด้วยกิเลสตัณหาได้ เพราะเมื่อความหิวเกิดขึ้นครอบงำจิตใจ ก็อาจเกิดขึ้นโลภะ บริโภคมากเกินไปจุเกินไป หรือเมื่อหาอาหารบริโภคไม่ได้ทันใจ หรือไม่ถูกใจก็เกิดโทสะ หรือเมื่อได้บริโภคอาหารที่ถูกปากถูกใจ ก็อาจหลงติดอยู่ในรสอาหารนั้นด้วย ดังนั้น คนที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่ จึงมักบริโภคอาหารด้วยกิเลสตัณหา ส่วนพระอรหันต์ท่านบริโภคอาหารด้วยความหิว ซึ่งเป็นความต้องการของร่ายกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งความหิวที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถครอบงำจิตใจท่านได้ เพราะจิตใจท่านบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสตัณหา และท่านมีสติกำหนดรู้เท่าทันความหิวที่เกิดขึ้นนั้น
                ในการพักผ่อนหลับนอนก็เช่นเดียวกัน สำหรับคนที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่นั้น ย่อมต้องการพักผ่อนหลับนอนด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยความต้องการของร่างกาย ด้วยมีความเหน็ดเหนื่อย 1 ด้วยอำนาจกิเลสหรืออกุศลธรรม คือ ถีนมิทธะครอบงำจิต 1 ซึ่งการพักผ่อนหลับนอนด้วยเหตุประการหลังนี้ เป็นการพักผ่อนหลับนอนอย่างปราศจากสติสัมปชัญญะ บางครั้งก็นอนหลับไม่สนิท กล่าวคือ เมื่อถูกถีนมิทธะครอบงำแล้ว ทั้งๆที่ร่างกายไม่เหน็ดเหนื่อยก็จะเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนแล้วหลับไป บางที่ก็นั่งสัปปะหงก บางครั้งก็ทำให้เกิดฝันร้ายต่างๆ เพราะตนเองยังละสัญญาวิปลาสไม่ได้เป็นเหตุให้นอนหลับไม่สนิท ไม่ได้พักผ่อนเต็มที่
                ส่วนพระอรหันต์หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านพักผ่อนหลับนอนด้วยความต้องการของร่างกายเพียวอย่างเดียวเท่านั้น หาได้พักผ่อนหลับนอนด้วยกิเลสหรืออกุศลธรรมไม่ เพราะอกุศลธรรมคือถีนมิทธะนั้น ท่านละได้เด็ดขาดแล้ว และในขณะที่ท่านพักผ่อนหลับนอนด้วยความต้องการของร่างกายนั้น ภวังคจิตย่อมเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของร่างกาย เหมือนดอกบัวที่บานแล้วถึงคราวหุบไปฉะนั้นและโดยเหตุที่พระอรหันต์เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ละสัญญาวิปลาสได้แล้ว จึงไม่มีการฝัน ไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้ายด้วยประการทั้งปวง
                ในการเจ็บไข้ได้ป่วยก็เช่นเดียวกัน สำหรับปุถุชนทั่วไปนั้น เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น ย่อมได้รับทุกขเวทนาทั้ง 2 สถาน คือ ทุกขเวทนาทางกายและทุกขเวทนาทางใจ ส่วนพระอรหันต์นั้น ท่านมีแต่ทุกขเวทนาทางกายเท่านั้น หาได้มีทุกขเวทนาทางใจไม่ เพราะมีสติกำหนดเท่าทันเวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ทุกขเวทนาจึงครอบจิตใจท่านไม่ได้
                สำหรับพระอรหันต์ที่ได้ดับเบญจขันธ์ไปแล้วนั้น ย่อมมีโอกาสได้เสวยความสุขในพระนิพพานอันเป็นบรมสุข เป็นสันติสุขอย่างแท้จริง เป็นความสุขที่ยอดยิ่ง ด้วยเป็นผู้ข้ามพ้นจากโอฆสงสาร พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พ้นจากกิเลสและกองทุกข์โดยสิ้นเชิง มีแต่ความเกษมสุขเป็นนิรันดร
                ผู้ที่สามารถทำพระนิพพานให้แจ้ง
ได้แก่
                    1.พระอริยบุคคล คือ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนได้เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระอริยบุคคลทุกองค์จะสามารถเห็น พระนิพพานเป็นที่อยู่ในตัวได้อย่างแจ้งชัด และเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่จะเข้าไปเสวยสุขอยู่ในนิพพานได้หลังจากดับขันธ์ไปแล้ว
                    2.โคตรภูบุคคล หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนแก่กล้า ชำนิชำนาญ ก็สามารถเห็น (รู้) พระนิพพานได้
                    3.ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลส ถ้ามีการปฏิบัติธรรมจนแก่กล้าเป็นโคตรภูบุคคลได้ก็สามารถเห็นพระนิพพานได้
                วิธีทำพระนิพพานให้แจ้ง
มีวิธีเดียวเท่านั้น  คือ การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสมถกรรมและวิปัสสนากรรมฐานหรือเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวล้วนๆ

มรรค8

มรรค8 คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ4 (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค)
1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)
3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
ในทางปฏิบัตินั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปีนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธีการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภัร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น

มงคลชีวิต

อย่านอนตื่นสาย           อย่าอายทำกิน
อย่าหมิ่นเงินน้อยอย่าคอยวาสนา
อย่าเสวนาคนชั่วอย่ามั่วอบายมุข
อย่าสุกก่อนห่ามอย่าพล่ามก่อนทำ
อย่ารำก่อนเพลงอย่าข่มเหงผู้น้อย
อย่าคอยแต่ประจบอย่าคบแต่เศรษฐี
อย่าดีแต่ตัวอย่าชั่วแต่คนอื่น
อย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่าเอาเปรียบสังคม
อย่าชมคนผิดอย่าคิดเอาแต่ได้
อย่าใส่ร้ายคนดีอย่ากล่าววจีมุสา
อย่านินทาพระเจ้าอย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์
อย่าสุขจนลืมตัวอย่าเกรงกลัวงานหนัก
อย่าพิทักษ์พาลชน            อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี
 

เศรษกิจพอเพียง

Allow the band spit mine design: You decide. Now they agree to increase the value of the related images as described in Chapter 3 design team. Database bogged down in discussions about how well-date best to explain them that, Rashmi, a designer of learning to believe that the words in the text as shown in Figure 5.1 allows students to move at their own pace rather than having to wait for the sound to play, "Apart from that,''we must meet 508 การปฎิบัติการเพื่อรองรับผู้เรียนที่มีการสูญเสียการได้ยินเราจะต้องให้คำในข้อความ!''. Matt, the project leader and also likes to use text because of its small file size and your team can save time and expense recording, but Michael's graduate students to learn that Warner is Optical Media. Interning from local Uniterity disagreed strongly: "ในภาคการศึกษาสุดท้ายของระดับอาจารย์ไปบนและบนเกี่ยวกับประโยชน์ของเสียงคุณจะสูญเยโอกาสการเรียนรู้ใหญ่ถ้าคุณอาศัยอยู่กับข้อความที่อยู่คนเดียว!". by experience or intuition, which doesn option than (S) you choose. A. Matt reshmi and entitled to the benefits of describing the traffic on the screen that says outweigh the disadvantages. B Michael valid. Learn better when words are presented to describe the sound. C Eeryone can be accommodated by making the text and audio.